กระบวนการผลิตชีส ลักษณะของชีสชนิดต่างๆ

กระบวนการผลิตชีส ลักษณะของชีสชนิดต่างๆ
เอานมมา ใส่แบคทีเรียลงไปอีกนิด เชื้อราอีกหน่อย ตัวร้ายอีกเล็กน้อย ชีสคือวิธีอย่างหนึ่งในการถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสีย แล้วเราก็จะได้ความอร่อยที่คนกินเท่าไหร่ก็ไม่พอ จากทุ่งเลี้ยงวัวไปสู่พิซซ่า จากโรคฟอร์ท (Roquefort) ไปถึงเวลวีต้า (Velveeta) ไม่ว่าคุณจะหั่นหรือว่าราดมันคือหนึ่งในการถนอมอาหารที่ซับซ้อนที่สุดของมนุษย์อย่างหนึ่ง

รถบรรทุกมาถึงก่อนรุ่งสาง ถังเหล็กส่องประกายแวววับ แต่ละถังมีปริมาตร 600 แกลลอน เลื่อนเข้าสู่สายพานผลิต มันคือโรงกลั่นอย่างหนึ่งแต่ของที่ทำไม่ใช่น้ำมันหรือว่าก๊าซแต่เป็นนม ที่โรงงานอัลโต้แดรี่ วิสคอนซิน วันปกติจะมีนมประมาณ 3,500,000 ปอนด์มาส่งที่โรงงานหรือประมาณ 70 รถบรรทุก อัลโต้แดรี่จะทำนม 3,500,000 ปอนด์นี้เปลี่ยนให้เป็นชีส 400,000 ปอนด์ทุกวัน นมร้อยละ 90 ที่ผลิตได้ในวิสคอนซินจะกลายเป็นชีส และชีสของวิสคอนซินร้อยละ 10 ถูกผลิตจากโรงงานแห่งนี้ อัลโต้แดรี่โรงงานทำชีสที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกของมิสซิสซิปปี้ ตั้งแต่โรงงานใหญ่โตไปจนถึงฟาร์มเล็กๆ การทำชีสคือศาสตร์และศิลป์และงานฝีมือ ทั้งยังเป็นความสัมพันธ์ระหว่างที่ดิน สัตว์ และเทคนิค

อัลโต้แดรี่ก็เช่นเดียวกับโรงงานทำชีสอื่นๆ ชีสดีๆ เริ่มต้นจากนมบริสุทธิ์เข้มข้น สิ่งแรกที่ทำเวลารถบรรทุกนมเข้ามาคือ เจ้าหน้าที่จะเปิดฝาเพื่อนำตัวอย่างนมมาตรวจหาสารปฏิชีวนะ เมื่อห้องแล็บตรวจแล้วพวกเขาก็จะติดท่อเข้าไปเพื่อสูบนมออกมาจากถังไปเก็บไว้ในแท้งค์นมขนาดยักษ์ของโรงงาน เมื่อการผลิตชีสเริ่มขึ้นนมจะถูกส่งไปฆ่าเชื้ออย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิประมาณ 162 องศาฟาเรนไฮต์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด จากนั้นมันจะถูกส่งไปหม้อทำชีส ที่แปลกก็คือขั้นตอนต่อไปที่สำคัญที่สุดในการทำชีสทุกชนิด ตั้งแต่ชีสสดชนิดเหลวไปจนถึงพาร์มิซานที่ต้องบ่ม นั่นก็คือการใส่เชื้อแบคทีเรีย เป็นที่ทราบกันว่าแบคทีเรียชนิดดีจะเป็นตัวบ่มชีส

การทำชีส, การผลิตชีส, ชีส, ประเภทของชีส, ประวัติของชีส

เราต้องใส่แบคทีเรียชนิดดีลงไป และมันจะเป็นการเริ่มกระบวนการบ่ม สิ่งที่มันทำคือแบคทีเรียมันจะเริ่มกินแลคโตสหรือน้ำตาลนม ขณะที่แบคทีเรียที่ได้รับความช่วยเหลือจากความร้อนและการกวนที่พอเหมาะ กินน้ำตาลและหมักพวกมันเป็นกรดแลคติก พวกมันลดค่า pH ของนม นี่จะทำให้ชีสมีกลิ่นและรสฉุนเปรี้ยวในที่สุด ค่า pH ที่ลดลงจะทำให้โปรตีนนมแข็งเป็นก้อน ที่โรงงานอัลโต้นมพวกนี้จะถูกทำให้กลายเป็นเชดดาห์ชีส ดังนั้นก่อนที่นมจะแข็งเป็นก้อน คนทำชีสจะใส่สีย้อมที่ทำจากพืชที่เรียกว่าชาดลงไปเพื่อให้เชดดาห์ชีสมีสีส้มอันเป็นเอกลักษณ์

การแข็งเป็นก้อนที่แท้จริงเกิดขึ้นเพราะเอนไซม์มหัศจรรย์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าเรนเน็ต (Rennet) แม้คนทำชีสปัจจุบันมักใช้เรนเน็ตที่สังเคราะห์จากพืช แต่ในอดีตมันถูกนำมาจากในกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นวัวหรือแกะ ภายในเวลาแค่สามสิบนาที เรนเน็ตเพียงเล็กน้อยก็เปลี่ยนนมหม้อใหญ่นี้ให้กลายเป็นก้อนเหนียวเหมือนโยเกิร์ต นมประมาณ 55,000 ปอนด์จะใช้เรนเน็ตแค่ประมาณ 70 ออนซ์เท่านั้น จากนั้นมีดอัตโนมัติจะหั่นพวกมันเป็นชิ้นแข็งๆ ที่เรียกว่า เคิร์ด (Curd)  ส่วนของเหลวที่คัดออกมาเรียกว่า หางนม (Whey หรือ Milk Serum) นี่คือลักษณะสากลอย่างหนึ่งของการทำชีส ที่โรงนมไม่ว่าทั้งใหญ่และเล็ก ขนาดของเคิร์ดจะเป็นตัวกำหนดเนื้อและปริมาณความชื้นของชีส ยิ่งเคิร์ดมีขนาดบางเท่าไหร่ หางนมที่คั้นออกมาได้ก็ยิ่งมาก เชดดาห์ชีสจะถูกตัดจนบางเฉียบ มันจะได้เป็นชีสเนื้อแน่นที่แห้งสนิท

ต่อมาเราจะล้างเคิร์ด ซึ่งต้องลดอุณหภูมิลงเพื่อชะลอปฏิกิริยาของแบคทีเรียและขจัดแหล่งอาหารของพวกมันด้วยการล้างแลคโตสออกไปบ้าง จากนั้นเราจะทำให้เค็มด้วยการใส่เกลือซึ่งไม่เพียงเพื่อเพิ่มรสชาติให้ชีสแต่ยังเป็นการควบคุมแบคทีเรียอีกทางหนึ่งด้วย จากนั้นเคิร์ดจะถูกส่งไปยังจุดอัดชีส ซึ่งมันจะถูกส่งลงไปในแม่พิมพ์ที่รู้จักกันในวงการว่า "640" ซึ่งก็คือแม่พิมพ์ชีสขนาด 640 ปอนด์นั่นเอง แม่พิมพ์จะถูกส่งลงไปในเครื่องอัดไล่น้ำและปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วตัวอัดไล่น้ำจะกดลงมา แรงอัดทั้งหมดจะรีดเอาหางนมออกไปอีก แม่พิมพ์แต่ละชิ้นจะกดอัดประมาณ 8 นาที ด้วยแรงอัด 5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI = Pounds per Square Inch)

เครื่องพลังไฮดรอลิคนี้ใช้สำหรับอัดชีสในระดับอุตสาหกรรม ส่วนคนทำชีสทั่วไปใช้วิธีง่ายๆ มานับพันปี คือใช้แรงคนรีดเอาหางนมออกไป แม่พิมพ์ถูกส่งไปอัดต่อในห้องสูญญากาศ พอเวลาผ่านไปชิ้นเคิร์ดจะหลอมรวมกันเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า เชดดาห์ชีส ขณะเดียวกันลึกลงไปในชีส แบคทีเรียที่เป็นตัวบ่มจะทำให้น้ำตาลนมแตกตัวเป็นกรดแลคติกที่มีกลิ่นฉุน ส่วนโปรตีนจะกลายเป็นสารประกอบที่มีรสฉุนจัดค่อยๆ เพิ่มรสชาติให้กับชีส และทั้งหมดนั้นคือขั้นตอนการทำชีสเพื่อถนอมนมไว้ไม่ให้เน่าเสีย เราทำให้โมเลกุลนมแตกตัวเป็นโมเลกุลที่แยกย่อยลงไปอีก การบ่มชีสส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นห่างจากโรงงานอัลโต้แดรี่ ซึ่งจะบ่มชีสในห้องเย็นประมาณ 10 วัน ก่อนที่จะเอาออกจากแม่พิมพ์ไปสู่พ่อค้าคนกลาง เป็นที่มาของ อิงลิชฟาร์มเฮ้าส์เชดดาห์แบบดั้งเดิมที่มากด้วยปริมาณและเทคโนโลยี

คนทำชีสในโลกนี้ผลิตชีสได้ปีละ 20 ล้านตัน มากกว่ายาสูบ เมล็ดกาแฟ ใบชาและเมล็ดโกโก้รวมกันทั้งโลก เพราะชีสไม่สามารถชั่งตวงวัดเป็นปริมาณเพียงอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของความชื่นชอบ ความหลงใหลไม่มีวันจบสิ้น ไม่ว่าจะเป็นชีสกลิ่นฉุนอย่าง บรีเดอมัวร์ (Brie de Meaux) หรือชีสในชีสเบอร์เกอร์ ในฐานะอาหารพกพาที่เต็มไปด้วยโปรตีน มันยังเป็นส่วนสำคัญในการอยู่รอดของมนุษย์อีกด้วย

เรารับรองได้เลยว่ามีการทำชีสในนครบาธมากว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาลแล้ว โดยเฉพาะในแถบที่เรารู้จักในปัจจุบันว่าเป็นประเทศตุรกี อิหร่าน ซีเรีย อาจจะหลายพันปีก่อนมีนครบาธด้วยซ้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือกากแห้งๆ ที่นักโบราณคดีขุดพบในหม้อดินเผาในบริเวณที่ปัจจบันคืออียิปต์ ซึ่งมีอายุประมาณ 2-3 พันปีก่อนคริสตกาลตามการตรวจอายุด้วยเครื่องตรวจคาร์บอน

ระหว่างการคาดเดาประวัติศาสตร์ของผู้รู้กับตำนานคือทฤษฎีที่ว่ามันเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ต้องขอบคุณคนเลี้ยงแกะเร่ร่อนที่บังเอิญเอานมแกะใส่ถุงที่ทำจากกระเพาะแพะหรือแกะ ขณะที่พวกเขาพกถุงนม นมเกิดปฏิกิริยากับเยื่อบุกระเพาะซึ่งมีเชื้อเรนเน็ตอยู่ด้วย และทำให้มันกลายเป็นเคิร์ดแยกตัวกับหางนม ถ้าเราอัดเคิร์ดพวกนี้เข้าด้วยกัน มันก็คือชีส มีการคิดค้นการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำมาตลอด 5-8 พันปี จนกลายมาเป็นชีสในปัจจุบันที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเพราะมันเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งและมันเก็บได้นาน

ชีส 1 ออนซ์ มีโปรตีนเป็น 7 เท่าของนม 1 ออนซ์ และมีแคลเซียมมากกว่า 5 เท่า ชีสยังให้พลังงานจากไขมันที่เข้มข้นด้วย ซึ่งร้อยละ 40-50 ของน้ำหนักที่ปราศจากน้ำคือไขมัน แต่เดิมชีสโบราณทำจากนมของผู้ร่วมทางอย่างแพะ มีการเลี้ยงแพะมากว่า 7,000 ปีแล้ว พวกมันก็คือสัตว์ชนิดแรกๆ ที่มนุษย์เลี้ยง จึงมีความเป็นไปได้ว่าชีสนมแพะอาจจะเป็นชีสชนิดแรกที่ถูกทำขึ้นบนโลก ในมหากาพย์โอดิสซี่ย์ของโฮเมอร์ เป็นมหากาพย์แห่งอารยธรรมตะวันตก ซึ่งคาดว่าโฮเมอร์แต่งเรื่องนี้เมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาล บางส่วนในเรื่องได้พูดถึงไซคลอปส์ยักษ์ตาเดียวที่เลี้ยงแกะเอาไว้ เขากวนนมแพะและนมแกะเพื่อทำเป็นเคิร์ด รีดน้ำจากชีสในตะกร้าที่สานแน่นแล้วบ่มพวกมันในถ้ำ

วิธีทำชีสนมแพะพัฒนาต่อไป ไม่เพียงในกรีซแต่ยังเผยแพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งที่เรดวู้ดฮิลฟาร์ม ทางเหนือของแคลิฟอร์เนีย ในการทำเฟต้าชีสของที่นี่ มีนมหนึ่งพันแกลลอนในเครื่องบ่ม ใส่เรนเน็ต แล้วสักพักมันก็จะเซ็ตตัวเป็นลิ่มก้อนเหมือนเต้าหู้หรือเจลลี่ คนทำชีสหั่นเคิร์ดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมค่อนข้างใหญ่และแยกมันจากหางนม จากนั้นก็ใส่เคิร์ดลงในแม่พิมพ์ มันอัดแน่นเข้าด้วยกันปละกลายเป็นชีสชิ้นหนึ่ง ที่นี่จะไม่กดอัดด้วยเครื่องจักร พอทิ้งไว้หนึ่งคืนพวกมันจะได้ที่ พอพรุ่งนี้เช้าก็จะใส่ก้อนเคิร์ดนี้ลงในน้ำเกลือสมุทร

คุณค่าของชีสในฐานะที่น้ำหนักเบาเป็นอาหารที่เก็บได้นาน เพิ่มขึ้นเมื่อวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะโรมันทำให้ศิลปะการทำชีส เค็ม แข็ง มีขนาดใหญ่ขึ้น เก็บได้นานและพกพาได้ง่าย มีทหารโรมันมากมายที่ต้องกินอาหาร และชีสก็เป็นอาหารอย่างหนึ่งของพวกเขา ดังนั้นพวกทหารโรมันไม่ว่าจะไปที่ไหนจะไปหาฝูงวัว ฝูงแพะหรือแกะ อะไรก็ได้ที่มี จากนั้นก็รีดนมมาทำชีส ชีสโรมันที่โดดเด่นที่สุดตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันก็คือชีสนมแกะแห้งๆ มันๆ ที่แข็งมาก ซึ่งเราเรียกว่าโรมาโน่เปโคริโน (Romano Pecorino) แปลว่าชีสที่ทำจากนมแกะจากแถบโรม

ชีสแข็งอิตาลีที่ยอดเยี่ยมอย่าง กราน่า ปาดาโน่ (Grana Padano) กับ พาร์มิจิอาโน่ เร็จจิอาโน่ (Parmigiano Reggiano) ถูกทำต่อเนื่องมาราวๆ พันปี หรืออาจนานกว่านั้น ชาวโรมันไม่ใช่พวกเดียวที่ทำแผ่นชีสบ่มใหญ่ๆ แข็งๆ ต้นศตวรรษที่ 11 สูงขึ้นไปบนแอลป์ของสวิส คนเลี้ยงสัตว์ต้อนสัตว์ในฤดูร้อนตามลำพังให้พวกมันหากินหญ้าสมุนไพรหวานๆ บนภูเขาแล้วผลิตชีสแข็งก้อนใหญ่อย่าง กรูแยร์ (Gruy?re cheese) อาหารสำคัญที่ช่วยให้อยู่รอดผ่านฤดูหนาวอันโหดร้าย สวิสผลิตกรูแยร์อย่างต่อเนื่องมาอย่างน้อยหนึ่งพันปีแล้ว การคิดค้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนี้เต็มไปด้วยรู ทำไมจึงมีรูในชีสสวิส และนักบวชในยุคกลางที่ดื่มเหล้าจัด สร้างสรรค์ชีสที่ดีที่สุดและกลิ่นฉุนที่สุดในโลกได้อย่างไร

เมื่อก้าวเข้าไปในร้านชีสระดับโลก ก็เหมือนก้าวเข้าไปในยันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจ ที่ๆ รวมชีสกลิ่นฉุนๆ ที่ดีที่สุดในโลกไว้อย่างแปลกประหลาด ไม่ว่าจะเป็นร้านชีสที่เป็นมิตรและมีชื่อเสียงในแคลิฟอร์เนียหรือเบเวอร์ลี่ฮิลล์ หรือตลาดแฟร์เวย์ที่คราคร่ำ ห่างออกไปสามพันไมล์ที่นครนิวยอร์ค เราเกือบจะจัดอันดับร้านชีสดีๆ ได้จากกลิ่นที่เวลาเดินเข้าไปในร้าน ถ้าไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน คุณก็เข้าร้านผิดแล้ว

ชีสมีกลิ่นเหม็นฉุนเพราะการทำงานของแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งทำให้ไขมันและโปรตีนแตกตัวเป็นองค์ประกอบที่ระเหยง่าย อย่างแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ อันเป็นที่มาของกลิ่นแรงๆ ชีสที่เหม็นฉุนที่สุดถูกทำขึ้นโดยนักบวชแบ๊บติสต์และเบเนดิกทีน (Baptist and Benedictine) ในยุคกลางซึ่งนำความคิดสร้างสรรค์อันยอดเยี่ยมที่นำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการทำชีสนั่นก็คือการบ่ม

ชีสที่เหม็นฉุนนั้นเพราะพวกมันถูกล้างน้ำมาอีกที พวกนักบวชเรียนรู้ว่าถ้าถูผิวหน้าของชีส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชีสนมวัว การล้างด้วยน้ำเปล่า น้ำเกลือ ไวน์ เบียร์ บรั่นดี หรืออาจจะเป็นน้ำองุ่นจะเป็นการให้อาหารแก่แบคทีเรียธรรมชาติที่อยู่นอกชีส ในอากาศ รวมทั้งในเนื้อชีสได้ทำงานเพื่อบ่มชีส นักบวชเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโลกโบราณหรือยุคกลาง พวกเขาทำให้การทำชีสนี้ยังคงอยู่ มันคือศิลปะ

ชีสมองต์เดอแคทส์ (Mont des Cats) เป็นชีสดั้งเดิมที่นักบวชยุคนั้นทำขึ้น มันกินแกล้มเนื้อแห้ง เบียร์และบทสวดสักสองบท ชีสนี้เหมาะมากๆ เอามากินแกล้มเบียร์อร่อยกว่าชีสที่มีเนื้อแข็งๆ พวกนักบวชก็เลยคิดสูตรชีสที่เหนียว เนื้อละเอียดและอร่อยมากๆ กินกับขนมปังดำและเบียร์ที่แรงๆ อาหารที่กินในสมัยนั้นทำให้พวกเขาแข็งแรงมากๆ

อีกหนึ่งตำนานของชีสสูตรแบ๊บติสต์คือชีสลิมเบอร์เกอร์กลิ่นฉุนที่โด่งดัง ที่สหกรณ์ชาเลตชีส มอนโร วิสคอนซิน นักทำชีส มารอน โอลสัน ทำชีสวิธีเดียวกับที่นักบวชทำมากว่า 1 ศตวรรษ เมื่อเคิร์ดแข็งตัวแล้วก็คลุกด้วยเกลือ จากนั้นก็ส่งไปยังห้องบ่มเพื่อให้ได้แบคทีเรียอันเป็นเอกลักษณ์ พรมน้ำไปบนผิวชีส มันคือน้ำผสมเกลือที่มีแบคทีเรียชนิดพิเศษ จากนั้นก็จะลวกมันและทำแต่ละด้านให้เป็นสี่เหลี่ยมสุดปลายก้อนชีส แบคทีเรียจะเริ่มเติบโต ทำให้โปรตีนในชีสแตกตัว เปลี่ยนมันจากชีสร่วนๆ ที่เป็นกรดมากให้กลายเป็นชีสนุ่มๆ มันทำให้ด้านนอกของชีสนิ่มเข้าไปถึงด้านใน ลิมเบอร์เกอร์อาจไม่ใช่ชีสพรมน้ำที่กลิ่นแรงที่สุด แต่มันอาจเป็นกลิ่นประเภทที่คนจำได้ เพราะบรีวีแบคทีเรียม (Brevibacterium) ในชีสลิมเบอร์เกอร์เป็นแบคทีเรียชนิดเดียวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลิ่นตัวของคนเรา ที่โรงงานของสหกรณ์ชาเลตชีสใช้แบคทีเรียชนิดเดียวกันนี้จากแผ่นไม้สนในห้องบ่มตั้งแต่ต้นปี 1900 ปัจจุบันชาเลตชีตคือบริษัทเดียวที่ผลิตลิมเบอร์เกอร์ในสหรัฐ แต่ต้นศตวรรษที่ 20 ลิมเบอร์เกอร์ได้รับความนิยมอย่างมาก

ถ้าคุณคิดว่าการทาแบคทีเรียเป็นวิธีที่น่ารังเกียจในการบ่มชีส คุณอาจอยู่ให้ห่างจากมิโมเล็ตต์ (Mimolette Cheese) เนยแข็งที่ถูกบ่มด้วยมูลชองไรในโพรงไม้ มันเป็นชีสโปรดของชาร์ล เดอ กูล (Charles de Gaulle) อดีตประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ถ้าเราดูที่ผิวจะเห็นตัวไรที่กินเข้าไปในผิวเหมือนตามด มันมีผลทำให้รสชาติแปลกออกไป เนื้อชีสจะค่อนข้างอ่อนอยู่กึ่งกลางระหว่างเชดดาห์กับอีดาม (Edam Cheese) สิ่งมีชีวิตที่นิยมใช้ในการบ่มชีสมากกว่าก็คือรา ราบนชีสถูกเพาะมาอย่างดี ไม่เหมือนที่ขึ้นตามห้องใต้ดินอับๆ

ในตระกูลเดียวกับบรี ชีสนมแพะที่เต็มไปด้วยรานี้เรียกว่า โครติน (crottin cheese) กับ คามิลเลีย (camilia) ถูกบ่มอยู่ที่เร้ดวู้ดฮิลล์ฟาร์ม ช่วงแรกของการผลิต คนทำชีสใส่การผลิตชีส ลงในนม ระหว่างขั้นตอนการบ่ม ราจะขึ้นอยู่บนผิวหน้าชีส เพราะมันต้องการอากาศ ชีสจะถูกเปลี่ยนองค์ประกอบ ราจะทำให้ไขมันเนยแตกตัวไปด้วย มันจะหมักชีสจากด้านนอกเข้าไปด้านใน คาเมมเบิร์ต (Camembert Cheese) กับ บรี (Brie Cheese) ถึงได้มีขอบหนืดๆ มันจะถูกหมักไปเรื่อยๆ จนกว่าชั้นในสุดจะเหลวเหมือนกัน

ชีสหนืดที่มีชื่อเสียงที่สุดคือชีสสีฟ้าอย่างสติลตัน (Stilton) ของอังกฤษ กอกอนโซล่า (Gogonzola) ของอิตาลี และโดยเฉพาะ โรคฟอร์ท (Roquefort) ของฝรั่งเศส ตามที่เล่ากันมานมแกะสีฟ้าถูกบ่มในถ้ำที่ชื่อว่าโรคฟอร์ทและมีราขึ้นตามเนื้อชีส โรคฟอร์ทคือชีสนมแกะสีฟ้าที่ทำกันในแคว้นโอแวร์ญ (Auvergne) ของฝรั่งเศส มันคือนมแกะแท้ๆ และถูกบ่มอยู่ในถ้ำ พอถึงจุดนึงชีสจะขึ้นรา พอปาดออกอากาศจะเข้าไปและทำให้ราสีฟ้าเจริญเติบโต มันคือราสีฟ้าที่เรียกว่า เพนิซิเลียมโรคฟอร์ท ชีสโรคฟอร์ทไม่เหมือนใครเลย มันไม่เหมือนชีสสีฟ้าอื่นๆ

ชีสที่มีเอกลักษณ์อีกชนิดหนึ่งคือชีสเอ็มเมนทอลที่ทำในสวิสเซอร์แลนด์ แล้วรูพวกนี้ในชีสสวิสนี้มาจากไหนล่ะ ในการทำชีสสวิสในขั้นตอนแรกๆ จะใส่แบคทีเรียชนิดพิเศษลงไป มันชื่อว่าแบคทีเรียโพรพิโอนิก ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติในนมจะเติบโตในห้องบ่มที่อุ่นกว่าปกติ พอมันทำให้ชีสอุ่น แบคทีเรียโพรพิโอนิกก็จะเริ่มเติบโต พวกมันจะก่อตัวเป็นหย่อมเล็กๆ หย่อมพวกนี้จะเริ่มสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะดันให้ชีสโป่งเกิดเป็นรูด้านในชีส เจ้าแบคทีเรียชนิดนี้ยังทำให้เกิดรสชาติที่เราเรียกกันว่าเป็นรสชาติแบบสวิส

รสชาติคือสิ่งสำคัญเหนืออื่นใดของชีส ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของชีสแปรรูป ชีสที่ผ่านกระบวนการแล้วอาจแปรรูปได้หลายอย่าง อาจจะเป็นชีสแผ่นแบนๆ ไปจนถึงชีสที่เป็นครีมซอส มันถูกปรุงแต่งด้วยสารต่างๆ แล้วนำมาคืนรูปใหม่ ชีสที่ได้มีอายุที่นานกว่าตามธรรมชาติ ละลายได้สม่ำเสมอกว่าและผลิตได้ประหยัดกว่า เราพบกระบวนการนี้ได้ที่วิโนน่าฟู้ดส์ กรีนเบย์ วิสคอนซิน ที่โรงงานแห่งนี้ผลิตชีสแปรรูปหลายชนิด รวมทั้งชีสซอสแบบเป็นขวด มันมีตราสินค้าเป็นรูปวัวบนกระป๋อง ชีสแปรรูปจะเริ่มจากชีสธรรมชาติอย่างเชดดาห์หรือโคลบี้ ที่โรงงานวิโนน่าแห่งนี้ เชดดาห์ชีสสีขาวก้อนละ 40 ปอนด์ถูกบด เป้าหมายคือเพื่อเพิ่มพื้นผิวให้สารเคมีแปรรูปแทรกซึมเข้าเนื้อชีสให้ได้มากที่สุดในหม้อผสม ที่จะใส่สารอิมัลซิไฟเออร์ ผงหางนม ไขมัน และน้ำ ผสมจนชีสมีเนื้อเหนียวข้น

ส่วนประกอบสำคัญในชีสแปรรูปทุกชนิดก็คือสารอิมัลซิไฟเออร์ที่จะทำให้มันรวมเข้ากับสารอื่นเป็นเนื้อเดียวกันทำให้ไขมันกระจายตัวและไม่แยกชั้นกันกับผงหางนมโปรตีนที่ใส่เข้ามาแม้เวลาจะผ่านไปและทำให้มันมีเนื้อนุ่มเนียน ส่วนผสมถูกหลอมและคนอยู่ตลอดเวลา มันคือขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการขึ้นรูปให้เนื้อชีส เนื้อของมันเกือบจะเหมือนพลาสติกภายในหม้อผสมที่มีอุณหภูมิร้อนมากๆ

ชีสแปรรูปชนิดแรกถูกวางจำหน่ายในปี 1915 โดยชายผู้ที่ประทับใจประวัติของชีสมากกว่าใครๆ เขาคือ เจมส์ แอล คราฟท์ อาชีพทำชีสของคราฟท์เริ่มต้นในชิคาโกในปี 1903 ในตอนแรกเขาลงทุน 65 เหรียญสหรัฐกับม้าและรถเทียมม้า จากนั้นก็เริ่มส่งชีสไปยังร้านของชำในท้องถิ่น แต่คราฟท์ไม่พอใจกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในขณะนั้น มันไม่มีความเสถียรในแง่ของรสชาติและคุณภาพของชีสและยังมีปัญหากับอายุการเก็บที่สั้นอีกด้วย

ปี 1911 เริ่มทดลองทำชีสที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนซึงสามารถขายเป็นกระป๋อง แต่ความร้อนทำให้ไขมันและโปรตีนแยกตัวกัน ในที่สุดคราฟท์ก็พบว่าการคนอย่างสม่ำเสมอและการใช้สารอิมัลซิไฟเออร์แก้ปัญหานี้ได้ ในไม่ช้าคราฟท์ก็ได้ออเดอร์ล็อตใหญ่ เขาได้ทำการเซ็นสัญญาว่าจะส่งชีสที่ไม่เน่าเสีย 6 ล้านปอนด์ให้กับกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และนี่ก็คือสัญญาฉบับสำคัญที่ช่วยให้เจมส์ แอล คราฟท์พัฒนาธุรกิจของเขาขึ้นมา ธุรกิจกลายเป็นอาณาจักรอย่างรวดเร็ว ปี 1923 ทำบริษัทชีสที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากนั้นในปี 1928 คราฟท์ก็วางตลาดก้อนชีสนุ่มๆ สีทองที่มีชื่อแสนไพเราะว่าเวลวีต้า (Velveeta)

สิ่งที่เวลวีต้าไม่เหมือนกับชีสอื่นๆ ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า หางนมที่ถูกแยกออกไปตอนทำชีสถูกนำมาใส่กลับเข้ามาตอนแปรรูป และสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พบนั้นทำให้ชีสมีเนื้อครีมที่แปลกใหม่และคุณค่าทางสารอาหารที่ได้เพิ่มขึ้น และไม่น่าเชื่อว่าร้อยละ 30 ของชีสที่ผลิตทั่วอเมริกานั้นคือชีสของคราฟท์ วิศวกรของคราฟท์ยังนำเทคโนโลยีหลักๆ ทั้งหมดมาใช้ในการผลิตชีสแปรรูป รวมทั้งหม้อที่กวนชีสได้อย่างต่อเนื่องก็ยังถูกใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน เท่านั้นยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์ของคราฟท์ยังคิดค้นการผลิตครีมชีสที่ไฮเทคจนน่าประหลาดใจ

ในยุค 1940 ออสการ์ เจ ลิ้งค์ ได้ผลิตเครื่องแยกครีมเพื่อทำครีมชีส ซึ่งทำให้เราแยกหางนมออกจากครีมชีสได้ภายใน 15 วินาที แทนที่จะเป็นชั่วโมงๆ เหมือนเมื่อก่อน เขายังคิดค้นหม้อต้มพิเศษที่ทำให้เรายืดอายุของสินค้าออกไปได้ถึง 120 วัน ครีมชีสคือชีสธรรมชาติไม่ใช่ชีสแปรรูป แต่การทำให้เนื้อครีมชีสนั้นสมบูรณ์แบบได้นั้นไม่ธรรมดาเลย และมันทำโดยไม่ใช้ครีม มันทำโดยการใช้ให้แบคทีเรียค่อยๆ จัดเรียงประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ในนม ประจุไฟฟ้าที่มีในนมอยู่แล้วจะเป็นประจุลบเป็นส่วนใหญ่ มันจึงผลักกันเองและไม่เข้าใกล้กันและกัน นมจึงอยู่ในสภาพของเหลวไม่เป็นเจล แต่เมื่อเราใส่แบคทีเรียลงไป มันจะสร้างกรดบางอย่างและเปลี่ยนกลุ่มประจุไฟฟ้าในโปรตีนให้กลายเป็นประจุบวก ทีนี้พวกมันก็จะเริ่มดึงดูดกันและติดกัน เมื่อประจุมีความสมดุล ส่วนผสมข้นๆ จึงอยู่ในสภาพครีมโดยสมบูรณ์ไม่เหลวไม่แข็ง ณ จุดนั้นมันจะถูกให้ความร้อนอย่างรวดเร็วเพื่อฆ่าแบคทีเรียให้มันหยุดทำงานและก่อตัวเป็นครีมชีส

ในปี 1940 นอร์แมน คราฟท์ น้องชายของเจมส์ ออกแบบระบบกระบอกเย็นที่ไม่เหมือนใคร เพื่อทำผลิตภัณฑ์ที่เขาคิดเอาไว้มาหลายปี ชีสแผ่นสำเร็จรูป ชีสที่ผ่านการให้ความร้อนมาแล้วจะไหลเข้าไปในกระบอกที่ทำความเย็นขนาดใหญ่ มันจะสร้างแผ่นชีสที่เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและแผ่นนั้นก็จะถูกตัดออกเป็นริ้วอย่างรวดเร็ว และจะถูกตัดขวางอีกทีเพื่อให้มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมที่ใส่พอดีกับขนมปัง ซึ่งปกติจะผลิตออกมาเป็นปึกๆ ละ 8 แผ่น จากนั้นก็บรรจุหีบห่อ ฟังดูแล้วเหมือนมันง่าย แต่ก็ถือว่านอร์แมน คราฟท์นั้นเข้าใจคิดมากในยุคนั้น ในที่สุดเมื่อชีสแผ่นนี้ถูกวางจำหน่ายใน ปี 1950 มันเป็นสิ่งที่ฮือฮามาก จากนั้นก็กลายเป็นสินค้าสำคัญจนเป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นชีสอเมริกัน ปัจจุบันชีสแต่ละแผ่นยังคงถูกหั่นมาจากโรงงานคราฟท์ จากรายงานประจำปี ชีสของคราฟท์สามารถผลิตได้ถึง 7,200 ล้านแผ่น ปี 1952 คราฟท์วางตลาด Whiz Cheese ชีสแปรรูปความชื้นสูงชนิดทาที่สามารถทาได้เรียบเนียนมากขึ้น

ความสุขของคนนับไม่ถ้วนคือพิซซ่าร้อนๆ เคล็ดลับของมันก็คือมอซซาเรลล่าชีสนั่นเอง มันคือชีสที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกาจากการนิยมทานพิซซ่า ไม่น่าแปลกใจเลยที่คนอเมริกันทานพิซซ่าวันละประมาณ 100 เอเคอร์ ถ้านับตลอดทั้งปีมันก็เป็นพื้นที่ที่สามารถครอบคลุมได้ทั้งแมนฮัตตันด้วยพิซซ่าหนาสองชั้น กลับไปที่อัลโต้แดรี่จากวิสคอนซิน พวกเขาผลิตชีสมอซซาเรลล่าจากนมวัวตลอด 24 ชัวโมง พวกเขาผลิตมอซซาเรลล่าได้ประมาณวันละ 250,000 ปอนด์ ถ้าทั้งปีก็ประมาณ 96 ล้านปอนด์ และในหนึ่งวันสามารถผลิตมอซซาเรลล่าสำหรับใส่พิซซ่าได้ประมาณ 500,000 ถาด

มอซซาเรลล่าเป็นที่รู้จักในฐานะ พาสต้าฟิลาต้า หรือชีสที่สามารถยืดได้ เครื่องจักรที่เรียกว่าคุ๊กเกอร์สเตร็ทเชอร์ (Cooker Stretcher) จะให้ความร้อนกับก้อนเคิร์ด 136 องศาเพื่อละลายมัน การนวดด้วยเครื่องจักรเพื่อเปลี่ยนเคิร์ดเหลวๆ ให้กลายเป็นชีสยืดๆ พอมันออกจากเครื่องผสมและเตาให้ความร้อน มันจะมีเนื้อที่เหนียวหนืดมากๆ ต่อมาเคิร์ดร้อนๆ นี้ถูกเทลงในแม่พิมพ์ เพื่อรักษาเนื้อนุ่มๆ หยุ่นๆ ของมอสซาเรลล่าไว้ ก้อนที่ขึ้นรูปแล้วจะถูกแช่ลงในน้ำเกลือเย็นๆ การแช่น้ำเกลือ 4 ชั่วโมงหยุดกระบวนการบ่มของมันไว้ เมื่อเย็นลงแล้วก้อนมอซซาเรลล่าจะถูกบรรจุลงหีบห่อและถูกบ่มไปอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นชีสจำนวนมาหจะไหลออกมาตามเครื่องตัดและเข้าไปอยู่ในถุงสูญญากาศขนาด 5 ปอนด์ แล้วมันก็จะถูกส่งไปอยู่ตามหน้าพิซซ่าที่อยู่ในเตาอบ

เพื่อให้มอซซาเรลล่าเกรียมนิดหน่อยและยืดได้อย่างสมบูรณ์ คนทำชีสไม่เพียงต้องละละลายและยืดเคิร์ดเท่านั้น แต่พวกเขายังต้องทำให้แบคทีเรียที่เป็นตัวบ่ม ทำให้โปรตีนนมและแคลเซียมที่เกาะกันอยู่หนาๆ แตกตัวด้วย เพราะแคลเซียมคือกาวที่ยึดโครงสร้างของโปรตีนนมในชีสไว้ด้วยกัน ถ้าเราไม่กำจัดกาวนั้นด้วยกรดระหว่างกระบวนการผลิต ชีสที่ได้ก็จะมีเนื้อทึบๆ ไม่หยุ่นหรือยืด แต่ถ้ากำจัดออกไปทั้งหมดมันก็จะไม่เกาะกันเป็นก้อน

มอซซาเรลล่าแบบดั้งเดิมนั้นทำมาจากนมควาย เมื่อพวกโกธส์ (Goths) นำควายมาจากแคว้น นาเปลส์ (Naples) ช่วงต้นยุคกลาง คนทำชีสอิตาเลียนก็ทำมอซซาเรลล่าดีบูฟาล่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นมควายมีรสชาติหวาน มันและค่อนข้างเข้มข้น มันเหมาะสำหรับการทำมอซซาเรลล่าสดที่ต่างจากชีสสำหรับทำพิซซ่าชนิดอื่นคือมันไม่ได้บ่ม มีความชื้นสูงกว่า มีไขมันสูงกว่า และสามารถกินได้ทันที บริษัทชีสเล็กๆ ในแคลิฟอร์เนียที่ชื่อ Bubalus bubalis ตามชื่อวิทยาศาสตร์ของควายผลิตมอซซาเรลล่าสดได้ 600 ปอนด์ทุกวัน เท่ากับที่อัลโต้แดรี่ผลิตได้ใน  4 นาที เมื่อใส่ก้อนเคิร์ดมอซซาเรลล่าลงในเครื่อง Cooker Stretcher แล้ว สัญชาติญาณและประสบการณ์ของคนทำชีสคือทุกสิ่งทุกอย่าง คนทำชีสใส่น้ำร้อนประมาณ 200 องศาลงไปเพื่อให้เคิร์ดนุ่มและยืดได้อีกครั้ง จากนั้นก็ใส่เกลือและให้เครื่องจักรยืดไปจนกว่ามันเหนียวพอที่จะเอามาปั้นเป็นลูกบอลได้

มือกลอัตโนมัติของเครื่อง Cooker Stretcher จำลองมือมนุษย์ที่เป็นเครื่องมือเก่าแก่เพื่อยืดดึงมอซซาเรลล่าสด มอซซาเรลล่านั้นหมายถึงตัดได้ด้วยมือ เพราะคำว่า Mozzare ในภาษาอิตาเลียนนั้นแปลว่าตัด พอเครื่องปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วก็จะช็อคมันด้วยน้ำเกลือเย็นจัด ที่โรงงาน Bubalus bubalis ยังผลิตรีค็อตต้านมควายอีกด้วย รีค็อตต้าไม่เหมือนชีสชนิดอื่นเพราะมันทำมาจากหางนมคัดทิ้งทั้งหมด แทนที่จะเป็นเคิร์ด

หางนมคือสิ่งที่เหลือหลังจากได้เคิร์ดแล้ว ซึ่งยังมีโปรตีนเหลืออยู่มาก และจะเอาหางนมนี้ไปใส่ในถังแยกต่างหากเพื่อทำ รีค็อตต้า (Ricotta) และจะต้มมันจนมีอุณหภูมิ 198 องศา จากนั้นก็จะใส่เกลือและกรดซิตริกลงไปนิดหน่อย โปรตีนซึ่งอยู่ในหางนมนั้นก็จะจับตัวเป็นก้อนอีกครั้ง แยกชั้นออกมาจากของเหลว ก็ช้อนออกมาใส่บรรจุภัณฑ์

หางนมไม่เพียงเอามาทำเป็นรีค็อตต้าเท่านั้น มันถูกจัดว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง และนำมาผลิตให้เป็นผงเพื่อทำเวย์โปรตีนสำหรับนักกีฬาที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ที่โรงงานของอัลโต้แดรี่มีเครื่องทำผงหางนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มันสามารถผลิตผงหางนมได้ประมาณ 12,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง หางนมที่เป็นของเหลวจะถูกฉีดผ่านหัวพ่นสวนผ่านลมร้อนเพื่อให้ความชื้นระเหยออกไปแล้วตกลงมากลายเป็นผง ผงหางนมประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 12 ที่เหลือส่วนใหญ่คือน้ำตาลนมกับแร่ธาตุเช่นแคลเซียมหรือแมกนีเซียม อดีตของเหลือทิ้งนี้จะถูกผสมเข้ากับอาหารนับไม่ถ้วนตั้งแต่ขนมปังไปจนถึงไส้กรอก ในบรรดาคุณประโยชน์มากมาย หางนมทำหน้าที่เป็นสารให้ความหวาน โดยให้โปรตีนและแร่ธาตุสำคัญด้วย

หางนมไม่ใช่แค่อาหารเพื่อฟื้นฟูสุขภาพเท่านั้นมันยังมีคุณสมบัติของอาหารที่มีในชีสอีกด้วย ชีสมีไขมันมาก แต่นักวิทยาศาสตร์จากวิสคอนซินในศูนย์วิจัยค้นคว้าด้านการผลิตนมร่วมงานกับฟาร์มนมและคนทำชีสเพื่อกลั่นสารอาหารที่ดีกว่านั้นจากไขมัน โดยเพิ่มระดับไขมันโอเมก้า 3 ของชีสซึ่งเป็นไขมันดี พวกเขาเพิ่มระดับโอเมก้า 3 ในชีสด้วยวิธีการ 2 อย่าง อย่างแรกคือการให้อาหารที่ดีกับวัวที่รีดนม อย่างเมล็ดของต้นป่าน อีกวิธีหนึ่งก็คือผสมสารที่ได้จากทะเลไม่ว่าจะได้จากปลาหรือสาหร่าย นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีแยกกลิ่นคาวต่างๆ ออกจากปลาได้ หรือแม้กระทั่งการผสมสารที่เป็นโปรไบโอติกลงในชีส ที่ทำให้มันมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร

แม้จะมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีสก็ยังจะถูกปรับแต่งวิธีการผลิตโดยความคิดสร้างสรรค์ของคนทำชีสแต่ละคนต่อไป ชีสจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผืนดิน และสัตว์อันเป็นแหล่งที่มาของมัน อาหารที่วัว ควาย แกะ แพะกิน สารอาหารที่ถุกแปลงเป็นน้ำนม กลายเป็นไขมัน แล้วกลายเป็นชีส ทำให้ชีสมีความซับซ้อนและมีลักษณะของมันเอง มันน่ามหัศจรรย์มาก มันอยู่กับเรามานานเหตุผลเพราะว่า มันเป็นอาหารที่ดี พระเจ้าสร้างมนุษย์ มนุษย์สร้างชีส

บทความแนะนำ

20 ไอติมแสนอร่อยในญี่ปุ่น 20 อันดับเมนูเส้นแปลก ซุปทาโกะยากิพร้อมเส้น 25 เมนูอาหารสุขภาพคูณสอง วิธีสร้างกล้ามของดาราฮอลลีวู้ด 5 สุดยอดร้านก๋วยเตี๋ยวราดหน้า 5 สุดยอดร้านกระเพาะปลาในกรุงเทพ อาหาร 100 อย่างตามทางรถไฟสายยามาโนเตะ 101 เมนูซูชิ


อาหาร, เมนูอาหาร, เมนูขนมหวาน, อันดับอาหาร, รีวิวอาหาร, รีวิวขนม, ร้านอาหารอร่อย ภัยอันตราย, ภัยยาเสพติด, ภัยจากสัตว์มีพิษ, ภัยธรรมชาติ, ภัยอาชญากรรม สุขภาพ, สุขภาพดี, อาหารสุขภาพ, สมุนไพร, ประโยชน์ของสมุนไพร วิทยาศาสตร์น่ารู้, จักรวาล, ความรู้วิทยาศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์ ผี, เรื่องเล่าผี, สยองขวัญ, เรื่องสยองขวัญ, เรื่องผี, เรื่องน่ากลัว, ฆาตกรโหด, ฆาตกรต่อเนื่อง, อันดับผี อันดับสัตว์, สิบอันดับสัตว์, สารคดีสัตว์โลก, ชีวิตสัตว์โลก ประวัติศาสตร์, บทความประวัติศาสตร์, เรื่องราวในประวัติศาสตร์ จัดอันดับ, 10 อันดับ, สิบอันดับ, ที่สุดในโลก, 10 อันดับสัตว์, 10 อันดับผี, 10 อันดับฆาตกร, 10 อันดับอาหาร, 10 อันดับเรื่องสยองขวัญ จัดอันดับ, 10 อันดับ, เรื่องสยองขวัญ, เรื่องเล่าสยองขวัญ, ดูดวง, นิทาน, ภัยอันตราย, สมุนไพร, สุขภาพ