10 อันดับสัตว์มีพิษ

10 อันดับสัตว์มีพิษ
อันดับที่ 10 ทากทะเล



ทะเลเป็นบ้านของสัตว์ต่างๆ ที่มีสารเคมีเป็นอาวุธ บางชนิดใช้มันเพื่อฆ่าเหยื่อ แต่บางชนิดใช้มันเพื่อขับไล่นักล่า สัตว์ชนิดนี้ไม่ได้สร้างพิษของมันเอง แต่มันใช้สารพิษจากดอกไม้ทะเล ดอกไม้ทะลมีสารพิษนิวโรท็อกซิน (Neurotoxin) อันทรงพลัง ซึ่งเก็บอยู่ในเซลล์เข็มจิ๋วจำนวนมาก เข็มพิษเหล่านี้สามารถเผยโฉมในเสี้ยววินาที แต่มีสัตว์ชนิดหนึ่งที่สามารถปลดอาวุธดอกไม้ทะเลนั่นก็คือทากทะเล ทากทะเลก็เหมือนหอยทากทะเล แต่ไม่มีเปลือกมาปกป้องตนเอง ดังนั้นสัตว์ชนิดนี้จึงต้องหาวิธีอื่นในการระวังตนเอง ทากทะเลไม่เพียงแค่กินดอกไม้ทะเล พวกมันยังขโมยเซลล์เข็มของดอกไม้ทะเลและเก็บเอาไว้ในปลายอวัยวะที่ยื่นออกมาจากปลายหลังของมัน นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จริงๆ ว่าทากทะเลสามารถกลืนเซลล์เข็มของดอกไม้ทะเลโดยไม่เป็นอันตรายได้อย่างไร มีข้อสันนิษฐานว่า ในระบบการย่อยของมันทำให้สารพิษมีความเป็นกลางเมื่อย่อยแล้วเซลล์เข็มเหล่านี้ก็เดินทางไปสู่ส่วนปลายที่หลังของมัน ทากทะเลไม่สนเรื่องการพรางตัว มันแสดงความเป็นพิษของมันด้วยสีที่ฉูดฉาดและลวดลายที่เด่นชัด

อันดับที่ 9 กิ้งกือ ( Millipede)


มันเป็นสัตว์ที่รู้เรื่องแก๊สพิษเป็นอย่างดี ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ากิ้งกือเป็นสัตว์กินพืชทีไม่มีอันตราย แต่ถ้ามันถูกคุกคามมันสามารถปล่อยกลิ่นที่แม้แต่นักล่าที่หิวโหยที่สุดยังต้องอุดจมูก ระบบป้องกันทางเคมีของกิ้งกือไม่ได้มาจากเท้าของมัน และทั้งๆที่มันมีเท้าถึง 750 ข้าง กิ้งกือก็ไม่สามารถวิ่งได้เร็วนัก ถ้ามันถูกคุกคามมันจะขดตัวม้วนเป็นก้อนกลม และปล่อยแก๊สพิษออกมาจากช่องข้างลำตัว กิ้งกือหนึ่งตัวสามารถผลิตแก๊สพิษที่เป็นสารไฮโดรเจนไซยาไนด์ได้เกือบ 1 ออนซ์ นั่นมากพอที่จะฆ่าสัตว์ที่มีขนาดเท่าๆกับหนูได้อย่างสบาย ที่แปลกก็คือตัวแบล็ก ลีเมอร์ (Black Lemur) แห่งมาดากัสการ์ พัฒนาจมูกให้สามารถป้องกันพิษของกิ้งกือ ก่อนอื่นมันจะแหย่กิ้งกือให้ปล่อยพิษออกมา จากนั้นก็จะจับกิ้งกือถูเข้ากับตัวเองไปมา มันค้นพบว่ากลิ่นของกิ้งกือช่วยป้องกันยุงได้ดี และพิษของกิ้งกือมีผลเพียงเล็กน้อยกับตัวแบล็ก ลีเมอร์หรือมนุษย์


อย่างไรก็ตามมนุษย์คนนึงค้นพบวิธีประหลาดที่ใช้สารเคมีจากแมลงชนิดหนึ่ง นับหลายร้อยปีมาแล้ว มนุษย์เคยได้ยินเรื่องพลังของยาโป๊วที่ชื่อว่า แมลงวันสเปน ตัวยาเกิดจากแมลงปีกแข็งก่อกวนแมลงวันสเปนแล้วมันจะหลั่งของเหลวมีพิษคล้ายกับเนย ซึ่งถ้ากินเข้าไปจะเพิ่มการหมุนเวียนของโลหิต และกระตุ้นความต้องการทางเพศ นั่นเป็นสาเหตุที่มาคีส์ เด เซด (Marquis De Sade) ผสมแมลงวันสเปนไปในของหวานให้กับแขกของเขา โชคร้ายที่พวกเขาทานมากเกินไป ดังนั้นแทนที่จะรู้สึกถึงอารมณ์แห่งรัก พวกเขากลับล้มป่วย มาคีส์ถูกจองจำและถูกตัดสินในฐานะนักโทษอุกฉกรรจ์ ไม่มีใครใช้สารเคมีจากกิ้งกือในการทำเสน่ห์ อาจเป็นเพราะการดมไฮโดรเจนไซยาไนด์อาจทำลายอารมณ์โรแมนติกใดๆ ก็ได้

อันดับที่ 8 ผีเสื้อโมนาร์ช (Monarch Butterfly)



เมื่อคุณมีพิษเต็มตัวก็ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนอีกแล้ว นั่นเป็นสาเหตุที่สัตว์ในอันดับที่ 8 มีสีส้มดำฉูดฉาด นี่คือผีเสื้อโมนาร์ช (Monarch) ทุกฤดูหนาวของภูเขาใน Central Mexico คุณสามารถพบเห็นผีเสื้อโมนาร์ช 20,000 ตัวบนกิ่งไม้ และออกันอยู่ในบริเวณนี้กว่า 220 ล้านตัว พวกมันปลอดภัยอย่างแท้จริง เพราะไม่มีสัตว์ตัวไหนกล้าแตะต้องพวกมัน ก็เพราะต้นไม้ที่ชื่อ มิลค์วีด (Milkweed) มีสารพิษที่ชื่ออัลคาลอยด์ที่มีพิษร้ายแรงขนาดปริมาณแค่ 1 ออนซ์ ก็สามารถฆ่าแกะได้ ผีเสื้อโมนาร์ชตัวเมียอาศัยต้นมิลค์วีดเหล่านี้เพื่อเลี้ยงดูลูกของมัน ดักแด้ของโมนาร์ชกินมิลค์วีดกันอย่างเดียว พวกมันจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักจากแรกเกิดอีก 15 เท่า พวกมันถึงจะพร้อมกลายเป็นผีเสื้อ พวกมันจะสะสมอัลคาลอยด์ในเนื้อเยื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันต้องกินยาพิษที่ช่วยปกป้องพวกมันจากนักล่าในช่วงที่พวกมันมีชีวิต ผีเสื้อโมนาร์ชเป็นสัตว์พิษในอันดับที่ 8 เพราะการกลืนอัลคาลอยด์จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และหัวใจหยุดเต้นได้

ผีเสื้อโมนาร์ชไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่ใช้สารพิษจากพืช มนุษย์ก็เช่นกัน ผู้ปกครองของโรมโบราณทราบดีถึงการใช้ต้นไม้มีพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นเบลลาดอนนา (Belladonna) หรือ เดธลี่ ไนท์เชด (Deathly Nightshade) ที่เต็มไปด้วยอัลคาลอยด์ที่เต็มไปด้วยอะโทรปิน (Atropine) ซึ่งเป็นสารพิษ ในปริมาณที่พอเพียงสิ่งนี้อาจทำให้หัวใจล้มเหลว หนึ่งในนักโทษที่อื้อฉาวในประวัติศาสตร์ ลิเวียพระชายาของจักรพรรดิ ออกุสตัส (Augustus) บางคนเชื่อว่าพระนางใช้เบลลาดอนนา เพื่อวางยาพิษเหยื่อที่ไม่ได้คาดคิดรวมถึงพระสวามีของพระนาง

เมื่อตัวเต็มวัยของผีเสื้อโมนาร์ชออกจากดักแด้ของมัน พิษของตัวเต็มวัยก็พอๆ กับในตัวดักแด้เพราะมันสะสมอัลคาลอยด์อยู่ในเกล็ดบนปีกของมัน อย่างไรก็ตามมีการศึกษาว่าพิษของผีเสื้อโมนาร์ชนั้นลดลงตามอายุของมัน ก็เพราะเวลาที่ล่วงเลยเกล็ดบนปีกของมันก็เริ่มจะร่วงหล่น

อันดับที่ 7 แมลงปีกแข็งบอมบาร์ดิเออ (Bombardier)


บางครั้งคุณไม่ต้องการห้องทดลองที่ใช้ผสมยาพิษที่ร้ายแรงที่สุดในโลก สัตว์ในอันดับ 7 ของเราสามารถผลิตระเบิดในบั้นท้ายของมันเอง มันคือแมลงปีกแข็งบอมบาร์ดิเออ (Bombardier) มันไม่รอให้นักล่ามาลิ้มรสเรือนร่างที่มีพิษของมัน เมื่อแมลงบอมบาร์ดิเออเจอปัญหา มันปกป้องตัวเองด้วยการพ่นสารเคมีที่แสบร้อนจากด้านหลังของมันเอง ต่อมที่อยู่ด้านหลังของแมลงบอมบาร์ดิเออ ผลิตไฮโดรควิโนน สารเคมีมีพิษที่เราใช้เหมือนกับน้ำยาล้างฟิล์ม ต่อมอีกต่อมหนึ่งสร้างสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารเคมีแบบเดียวกับที่เราใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวด เมื่อสารเคมีทั้งสองอย่างถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน ปฏิกิริยาความร้อนมีมากถึง 212 องศาเซลเซียส ละอองพิษที่แสบร้อนถูกดันออกไปจากหัวฉีดเล็กๆ ด้วยแรงระเบิดที่รวดเร็วสุดๆ มันสามารถฉีดพิษได้ถึง 700 ครั้งต่อวินาที

อันดับที่ 6 คางคกเคน (Cane Toad)


สัตว์ตัวนี้ผลิตพิษที่ทรงพลังพอที่จะทำให้หัวใจหยุดเต้น คางคกเคนอาจดูอ่อนแอแต่มันเต็มไปด้วยพิษ ต่อมที่ผลิตสารพิษอยู่ในผิวหนัง แต่พวกมันมารวมตัวกันอยู่ในบริเวณตรงหัวไหล่ ต่อมพวกนี้อยู่ในตำแหน่งที่ดีเยี่ยมเพื่อให้พิษเข้าไปในปากของนักล่าได้รวดเร็ว มันเป็นสัตว์ที่รักสงบและปล่อยสารพิษเมื่อรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในอันตรายเท่านั้น ไม่เคยมีใครตายเพราะคางคกเคนในออสเตรเลีย แต่มีครั้งหนึ่งที่คางคกมีส่วนในการฆาตกรรม เมื่อนักโบราณคดีขุดพบที่ตั้งมายันโบราณในอเมริกากลาง เขาพบกระดูกของคางคกหลายพันตัว มีข้อสันนิษฐานว่า นักบวชมายันรีดพิษของคางคกเพื่อใช้มันในพิธีบูชายัญ มันคือยาวิเศษในพิธีบวงสรวงของพวกเขา เมื่อเสพยาพิษนี้เข้าไป เหยื่อบูชายัญจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และถูกสังเวยให้กับเทพเจ้าที่น่ากลัว

อันดับที่ 5 งูเห่า (Cobra)



สัตว์ชนิดนี้พบวิธีพิเศษเพื่อใช้พิษในการหลบหนีปัญหา เลื้อยมาสู่อันดับที่ 5 นั่นก็คืองูเห่า พิษงูเห่าน้อยกว่า 1/10 ช้อนชา ก็สามารถฆ่ามนุษย์ได้แล้ว และมันสามารถใช้พิษของมันโดยไม่ต้องกัดเหยื่อ ในการขู่ของมัน มันสามารถพ่นพิษออกไปได้ไกล 11 ฟุต อย่างแม่นยำ การวิจัยระบุว่างูเห่าจะเล็งไปที่เนื้อเยื่อดวงตาที่มีความรู้สึกไว ที่ซึ่งพิษดูดซึมอย่างรวดเร็วและสามารถทำให้ตาบอดถาวร ได้มีการจำลองติดดวงตาไว้ที่หุ่น และแม้ว่าจะเปลี่ยนตำแหน่งไปที่ไหน งูเห่าก็จะพ่นพิษไปที่ดวงตาทุกครั้ง ความลับในความแม่นยำของงูเห่าอยู่ในโครงสร้างของเขี้ยว ในงูส่วนใหญ่พิษเดินทางผ่านช่องโพรงภายในฟันด้วยแรงดันต่ำ แต่ในงูเห่าพ่นพิษ ช่องทางเปิดในมุมที่เหมาะสมที่ปลายเขี้ยว พ่นพิษออกไปด้วยแรงดัน ก็เหมือนกับงูทุกชนิดพิษของงูเห่าประกอบด้วยโปรตีนและเอนไซม์ที่แตกต่างกันหลายร้อยชนิด ขณะที่งูเห่าพ่นพิษใช้มันเพื่อให้นักล่าถอยห่าง

อันดับที่ 4 นกพิทุย (Pitohui Bird)



นี่คือสัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่ามีพิษจนกระทั่งปี 1989 ก่อนหน้านั้นไม่มีใครรู้ว่าหนึ่งในนกกว่า 9,000 ชนิดจะมีพิษ จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งใช้ตาข่ายจับนกในปาปัวนิวกินีเพื่อศึกษา หลังการตรวจสอบนกที่มีชื่อว่า พิทุย (Pitohui) นักวิจัยเอานิ้วเข้าไปแหย่ในปาก เขาไม่รู้ว่าเขาถูกวางยาจนกระทั่งริมฝีปากและลิ้นของเขาเริ่มชา เขาเก็บตัวอย่างจากนกเพื่อส่งกลับสู่ห้องทดลอง การทดสอบยืนยันว่าผิวหนังและขนของนกพิทุยมีพิษที่ชื่อว่า เบทรัคโคท็อกซิน (Batrachotoxin) สามารถฆ่าหนูในไม่กี่นาที และยิ่งกว่านั้นยิ่งพิษแรงแค่ไหนนกก็จะยิ่งมีสีสดเท่านั้น มีการค้นพบว่านกพิทุยมีพิษน้อยที่สุดในสามพันธุ์ นกพิทุยสลับสีมีพิษปานกลาง และนกพิทุยที่มีแผงคอสีสดมีพิษมากที่สุด เชื่อกันว่าพิษของนกพิทุยอาจช่วยป้องกันปรสิตและป้องกันตัวจากนักล่า พิาไม่แรงพอที่จะฆ่าคนแต่มันอธิบายได้ว่าทำไมชาวปาปัวนิวกินีถึงตั้งฉายานกพิทุยว่านกสวะ พวกเขารู้ดีว่าถ้ากินนกพิทุย กลิ่นปากของพวกเขาจะเหม็นสุดๆ เมื่อนักวิจัยไปเยี่ยมนักธรรมชาติวิทยาชาวนิวกินี เพื่อค้นหาว่านกมีพิษได้อย่างไร พวกเขาร่วมกันวิจัยค้นพบว่า แมลงปีกแข็งที่นกพิทุยกินเข้าไปนั้นมี เบทรัคโคท็อกซิน (Batrachotoxin) เช่นกัน ดูเหมอืนว่านกพิทุยเป็นดั่งคำฝรั่งที่ว่า You are wat you eat จริงๆ และเป็นเรื่องน่าแปลกที่ไม่เฉพาะนกพิทุยที่มีพิษชนิดนี้เท่านั้น เราจะพบพิษนี้ได้ในสัตว์พิษอันดับต่อไป

อันดับที่ 3 หมึกบลูริงก์ (Blue Ring Octopus) 


มันเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย และขนาดเพียงแค่ลูกกอล์ฟก็สามารถฆ่าคนได้ถึง 10 คน มันก็คือหมึกบลูริงก์ (Blue Ring Octopus) ชื่อของมันมาจากวงแหวนสีฟ้าสดใสของมัน และจะเปล่งแสงเตือนเฉพาะเวลาที่มันถูกคุกคาม มันมีสารพิษที่ชื่อนิวโรท็อกซิน (Neurotoxin) ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าไซยาไนด์ หมึกใช้สารพิษเพื่อป้องกันตัวเองและจู่โจมเหยื่อ หมึกชนิดนี้สร้างพิษของมันโดยต่อมน้ำลายที่ถูกดัดแปลงสองต่อม แต่ละต่อมใหญ่เท่ากับสมองของมัน ขณะที่มันล่าเหยื่อ อาจจะขาดความแม่นยำอย่างงูเห่าพ่นพิษ แต่มันสามารถพ่นน้ำลายพิษหรือฉีดพิษเข้าไปจากการกัดโดยจงอยปากอันทรงพลังของมัน สารพิษจะค้นหาเซลล์ประสาทและปิดกั้นการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในชั่วเวลาแค่ไม่กี่วินาที เหยื่อเป็นอัมพาตทันที ระบบหายใจเริ่มหยุดทำงาน หมึกบลูริงก์ก็จะกินอาหารโดยไม่มีการต่อสู้ มันไม่ได้สร้างพิษของมันเอง นักวิจัยค้นพบว่ามันเป็นพวกแบ็คทีเรียที่ผลิตนิวโรท็อกซินที่ร้ายแรง แบคทีเรียเหล่านี้อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของหมึก

อันดับที่ 2 ปลาปักเป้า (Puffer Fish)


มันไม่ได้ดูอ่อนแอเหมือนอย่างที่เห็น อาวุธของมันคือสารพิษเตตร้าด็อกซิน (Tetrodotoxin) หนึ่งในสารพิษที่ร้ายแรงที่สุดในโลก เหมือนกับหมึกบลูริงค์ปลาปักเป้ามีแบ็คทีเรียในร่างกายที่ผลิตสาร เตตร้าด็อกซิน ว่ากันว่าร้ายแรงกว่าไซยาไนด์ 275 เท่า และทำให้เส้นประสาทของระบบหายใจเป็นอัมพาตไปเลย ปลาปักเป้าสะสมเตตร้าดอกวินไว้ในตัวของพวกมันได้ เพราะมันพัฒนาระบบประสาทให้มีภูมิต้านพิษ อย่างไรก็ตามมนุษย์ไม่มีภูมิต้านทานพิษชนิดนี้อย่างแน่นอน การกลืนชิ้นเนื้อปลาปักเป้าที่มีพิษเพียงขนาดเพียงหัวเข็มหมุด สามารถทำให้ถึงตายได้ แต่นั่นไม่ได้ทำให้บางคนหยุดยั้งที่จะกินมัน ในญี่ปุ่นปลาปักเป้าเรียกว่า ฟุกุ เนื้อปลาปักเป้าเป็นอาหารชั้นหนึ่งที่ต้องเตรียมโดยผู้เชี่ยวชาญ พิษเตตร้าด็อกซินมีอยู่หนาแน่นในรังไข่ ลำไส้ และตับปลา ดังนั้นอวัยวะเหล่านี้ต้องขจัดออกอย่างระมัดระวัง และเนื้อต้องล้างอย่างทั่วถึงก่อนการเสิร์ฟ

อันดับที่ 1 กบลูกดอกพิษ (Poison Dart Frog)


สัตว์ที่มีพิษมากที่สุดในโลกอยู่ลึกไปในป่าฝนของอเมซอน โชคดีที่หาตัวพวกมันได้ง่าย มันคือกบลูกดอกพิษ พวกมันมีขนาดเพียงแค่ราวหัวแม่มือเท่านั้น และกบเพียงตัวเดียวมีพิษในผิวหนังที่จะฆ่าคนได้ถึง 50 คน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหล่านี้ได้ชื่อของพวกมันก็เพราะชาวพื้นเมืองทาสารหลั่งจากผิวหนังของกบชนิดนี้ไว้ที่ปลายลูกดอกที่ใช้ล่าสัตว์ พิษรุนแรงกว่าเตตร้าด็อกซินที่พบในปลาปักเป้าถึงสิบเท่า และทำงานโดยการปิดกั้นการส่งผ่านของการกระตุ้นของเส้นประสาท และที่น่าแปลกก็คือพิษที่อยู่ในผิวหนังของพวกมันคือสาร เบทรัคโคท็อกซิน (Batrachotoxin) สารตัวเดียวกับที่พบในนกพิทุย (Pitohui)  ในปาปัวนิวกินีที่อยู่ไกลออกไป แต่สารนี้พบในนกพิทุยในปริมาณที่น้อยกว่ามาก เป็นเรื่องแปลกว่า กบลูกดอกพิษและนกพิทุยเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร จนเมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบว่า แมลงปีกแข็งที่นกพิทุยกินในปาปัวนิวกินี ก็พบในโคลัมเบียที่ซึ่งกบอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน

*** นิวโรทอกซิน (Neurotoxin)  เป็นกลุ่มสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท ในสัตว์ทะเลที่มีพิษส่วนใหญ่จะเป็นสารพิษในกลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่นสารพิษ Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้าและหมึกบลูริงก์ ***
แหล่งรวมบทความสารคดีประวัติศาสตร์ บทความสารคดีจักรวาลและดาวเคราะห์ บทความสารคดีสงคราม บทความสารคดีภัยธรรมชาติ บทความสารคดีชีวิตสัตว์ บทความสารคดีอาวุธทางการทหาร บทความสารคดีการจัดอันดับ บทความสารคดีวิทยาศาสตร์ บทความสัมภาษณ์คนดัง บทสนทนาปัญหาเศรษฐกิจ บทสนทนาประเด็นข่าวร้อน เรื่องราวน่ารู้ ความรู้ทั่วไป สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ ผู้หญิง ความงาม แม่และเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร ร้านอาหาร เกมส์ เทคโนโลยี มาดูกันได้ที่  จัดอันดับ