ขนมและอาหารว่างในอาเซียน

ขนมและอาหารว่างในอาเซียน
ประเทศไทย
เริ่มต้นกันที่ขนมประจำชาติไทยของเรานั่นก็คือ บัวลอย บัวลอยเป็นขนมหวานที่มีทั้งรสชาติ หวานมันเค็ม เรียงลำดับตามแบบนั้นได้เลย แป้งที่นำมาทำบัวลอย ก็เป็นแป้งข้าวเหนียว ซึ่งหาได้ในบ้านเรานี่แหละ ส่วนกะทิที่ใช้ก็ได้มาจากมะพร้าว น้ำตาลก็ได้มาจากอ้อย นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อย่างเผือก ฟักทอง ไข่ไก่ ซึ่งได้มาจากวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยเรานี่เอง เป็นขนมที่บ่งบอกวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างชัดเจน บัวลอยสำหรับคนไทยยังถือเป็นตำนานขนมหวานแห่งความรักอีกด้วย

ประเทศเวียดนาม
ของว่างประจำชาติของเวียดนามคือ ขนมเบื้องญวน ขนมเบื้องญวนแท้ๆในเวียดนามเป็นอาหารทานเล่น แต่มีลักษณะอ้างอิงได้ถึงแพนเค้กของฝรั่ง ซึ่งทำจากแป้งข้าวเจ้าของคนท้องถิ่น ผสมกับกะทิและผงขมิ้น ยัดไส้ด้วยหมูหรือกุ้ง ตามรูปถั่วงอกและผักต่างๆ รวมไปถึงถั่วลิสงคั่วบด บางที่ก็ใส่หัวไชโป๊หวานเค็มด้วย โดยจะรับประทานคู่กับน้ำจิ้ม 3 รส มีส่วนผสมคือ น้ำตาล มะนาว และน้ำปลา แต่เนื่องจากอาหารว่างเมนูนี้มีลักษณะเป็นชิ้นที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร บางคนรับประทานไปชิ้นเดียวก็อิ่ม

ประเทศสิงคโปร์
ขนมประจำชาติของประเทศสิงคโปร์คือ ลอดช่องสิงคโปร์ สำหรับลอดช่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นของหวานประเภทเดียวกับที่สิงคโปร์ เราจะเรียกว่า cendol ซึ่งเป็นขนมพื้นเมืองที่มีอยู่มากมาย ทั้งในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม พม่า รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย สำหรับประเทศไทยที่เราเรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์ เนื่องจากเจ้าของหวานประเภทนี้มีชื่อเสียงโด่งดังครั้งแรกจากร้านที่ขายดี ที่ตั้งอยู่หน้าโรงหนังสิงคโปร์ โดยมีชื่อร้านว่า ร้านสิงคโปร์โภชนา คนจึงเรียกติดปากตามกันมาตลอดว่าลอดช่องสิงคโปร์ ปัจจุบันถ้าใครเดินทางไปสิงคโปร์ก็ยังคงต้องหาเมนูนี้มารับประทาน เพราะเขาขึ้นชื่อจริงๆ แต่ที่ประเทศอื่นๆเขาไม่ได้เรียกลอดช่องสิงคโปร์กันนะ เขาเรียกว่า cendol ถ้าจะไปหามารับประทานอย่าลืมเรียกชื่อให้ถูกด้วย

ประเทศฟิลิปปินส์
ขนมประจำชาติของฟิลิปปินส์คือ ฮาลูฮาโล (Halu Halo) ขนมหวานประเภทนี้ถือเป็นขนมหวานพื้นเมืองแท้ๆของประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนผสมหลักทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ฟิลิปปินส์มีมากมาย โดยจะใส่สีผสมอาหารสีต่างๆ ตามลักษณะวัฒนธรรมของคนฟิลิปปินส์ที่เน้นสีสันสดใสและรสชาติที่หวานหอม เวลารับประทานจะรับประทานคู่กับข้าวพอง ไอศครีม ขนมปัง และใส่เครื่องอื่นๆเป็นขนมที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งจะพบได้เฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น

ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า
ขนมประจำชาติของพม่าคือ ข้าวต้มมัด หรือจะเรียกว่าข้าวต้มผัดก็ได้ ทำจากข้าวเหนียวที่ผัดรวมกับกะทิ หลังจากนั้นนำไปห่อด้วยใบตอง ใส่ไส้กล้วยลงไปไว้ตรงกลาง และนำไปนึ่งต่อจนสุก รสชาติหวานมันถือเป็นขนมหวานที่แสดงวัฒนธรรมของคนพม่าได้ดีเลยทีเดียว เนื่องจากประเทศนี้มีทั้งข้าวเหนียว กล้วย และมะพร้าวที่มีคุณภาพ แต่ประเทศไทยก็นำขนมหวานเมนูนี้มาผลิตจนเป็นที่คุ้นเคย โดยมีการดัดแปลงและเพิ่มเติมความหลากหลาย โดยอาจจะใส่ถั่วหรือใส่เผือก หากใครมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศพม่า ลองหาข้าวต้มมัดมารับประทานสักชิ้น เพื่อจะได้รู้รสชาติและความแตกต่างของข้าวต้มมัดพม่ากับข้าวต้มมัดแบบไทยกัน

ประเทศมาเลเซีย
ขนมหรืออาหารว่างประจำชาติของประเทศมาเลเซียคือ โรตี เป็นประเทศที่มีอิทธิพลมาจากศาสนาอิสลามและชาวอินเดียผสมผสานกันโรตีจึงกลายเป็นของหวานประจำประเทศนี้ ทุกท่านคงทราบดีว่าโรตีคือการนำแป้งไปทอดให้เป็นแผ่น สำหรับสูตรของคนมาเลเซีย โรตีจะเป็นแผ่นค่อนข้างหนา ผิวนอกจะกรอบ ด้านในจะนุ่ม มีทั้งรับประทานโดยไม่มีหน้าใดๆเคียงคู่ กับชารสหวาน หรืออาจจะราดหน้าด้วยนมข้นและน้ำตาล โรตีของประเทศมาเลเซีย จะหนานุ่มเป็นชิ้นเป็นอันกว่าโรตีในประเทศไทย สามารถตัดแบ่งเป็นชิ้นหนาหนาคำโตโต แบ่งกันรับประทานได้หลายคนใน 1 แผ่น อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าคนมาเลเซียส่วนมากจะรับประทานโปรตีนคู่กับชานม ถือเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อที่นิยมกันมากมาย

ประเทศลาว
ขนมหวานประจำชาติของลาวคือ น้ำตาลอ้อย แต่ไม่ใช่น้ำตาลอย่างที่เราคิดซะทีเดียว เพราะน้ำตาลอ้อยนี้ เวลาทำจะต้องทำเหมือนกันทำขนม คือการนำน้ำอ้อยมาเที่ยว ไม่ใช่เอาน้ำตาลมะพร้าวมาเคี่ยว เคี่ยวจนกลายเป็นคาราเมลสีน้ำตาลแดง ซึ่งจะส่งกลิ่นหอมมาก หลังจากนั้นสามารถนำไปรับประทานกับเครื่องดื่มร้อนต่างๆหลากชนิด โดยจะให้รสชาติที่หวานจัดและมีความหอมละมุนของกลิ่นอ้อย น้ำตาลอ้อยลักษณะนี้ยังสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในการทำขนมหวานได้อีกหลายประเภทอีกด้วย สามารถหาทานได้ทั่วไปตามร้านต่างๆในประเทศลาว หากใครเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศนี้อย่าลืมลองหามารับประทานกันดู

ประเทศอินโดนีเซีย
ขนมหวานประจำชาติอินโดนีเซียคือ วุ้นน้ำมะพร้าว วุ้นน้ำมะพร้าวถือเป็นของหวานที่ขึ้นชื่อของที่นั่น หลายท่านอาจสงสัยและมีเสียงคัดค้านว่าใช่หรือ แต่ตามที่ระบุเป็นอย่างนั้นจริงๆ โดยน้ำมะพร้าวในอินโดนีเซียที่นำมาผสมกับวุ้นส่วนมากจะเป็นมะพร้าวพันธุ์แก่ปกติ ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในโรงงาน ที่ได้จากการคั้นน้ำกะทิหรือการใช้เนื้อมะพร้าวแก่ไปแล้ว เราจึงนำน้ำมะพร้าวเหล่านั้นที่ได้มาผสมเป็นวุ้น แล้วใส่น้ำกะทิจากมะพร้าวบางส่วนลงไป ทำให้น่ารับประทาน ซึ่งอาจจะแตกต่างจากวุ้นน้ำมะพร้าวในประเทศไทยไปบ้าง เพราะของไทยจะนิยมใช้มะพร้าวน้ำหอม

ประเทศกัมพูชา
ขนมหวานประจำชาติกัมพูชาคือ กระยาสารท เนื่องจากขนมหวานชนิดนี้มีมานานหลายร้อยปี และมีการทำกันตลอดปีเพื่อรับประทานเป็นขนมหวานปกติ แต่จะมีช่วงที่ใช้ในการประกอบพิธีในการไหว้ นั่นก็คือ ช่วงแรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งคนกัมพูชานิยมไหว้ด้วยกระยาสารท กระยาสารทเป็นขนมหวานที่ทำจากธัญพืชที่มีในท้องถิ่นกัมพูชานานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ถั่ว งา ข้าวคั่ว น้ำตาล นำมาผัดคั่วรวมกันจนจับตัวเป็นก้อน ทิ้งไว้ให้เย็นลง จึงนำมารับประทานและยังสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานเป็นเดือนเลยทีเดียว

ประเทศบรูไน
ขนมประจำชาติบรูไนคือ กล้วยแขก ปกติแล้วคนไทยจะคุ้นเคยกับขนมชนิดนี้เป็นอย่างดีและรับประทานจนเป็นที่ชื่นชอบ จนคิดกันไปว่าเป็นขนมของบ้านเราไปซะแล้ว ซึ่งมีการระบุเอาไว้ว่า กล้วยแขกเป็นขนมของคนบรูไน วิธีการทำคือนำกล้วยมาผ่าครึ่ง หรือบางครั้งจะหันครึ่งเป็น 2 ท่อน แล้วนำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้า มะพร้าว งา น้ำตาล หลังจากนั้นนำไปทอดในน้ำมันที่มีอุณหภูมิร้อนกำลังพอเหมาะ ซึ่งคนบรูไนสามารถรับประทานกล้วยแขกได้ตลอดเวลา แต่รสชาติกล้วยแขกของบรูไนอาจไม่หวานเท่าของไทยเรา

ขนมไทยโบราณที่น่าจดจำ และ ขนมไทยมงคล ๙ อย่าง

อาหารประเทศอาเซียน

30 อันดับขนมหวานเมืองคามาคูระประเทศญี่ปุ่น