อภินิหาร ณ พระแท่นดงรัง

เมื่อเอ่ยชื่อพระแท่นดงรัง คิดว่าคนไทยโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนคงจะเคยได้ยินชื่อและเคยไปนมัสการหรือไปเที่ยวชมสถานที่แห่งนี้มาแล้วเพราะถือว่าเป็นปูชนียสถานอันทรงคุณค่าของจังหวัดกาญจนบุรี สิ่งที่ควรค่าแก่การเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่งคือ พระแท่นดงรัง ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบรมโกศโดยพระแท่นดงรังนั้นเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานถือเป็นปูชนียสถานจำลองเครื่องหมายแห่งเหตุการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าณสาลวโนทยานประเทศอินเดีย โดยลักษณะของพระแท่นบรรทมนั้นเป็นหินแท่งทึบ มีรูปลักษณ์คล้ายแท่นหรือเตียงนอน เริ่มที่มีต้นรังอยู่ริมพระแท่นข้างละต้นโน้มยอดเข้าหากันดูแปลกตา

พระแท่นดงรังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาถวายพระเพลิงตำบลพระแท่นอำเภอท่ามะกาจังหวัดกาญจนบุรีห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 38 กิโลเมตรหรือถ้านับจากกรุงเทพก็เพียง 100 กิโลเมตรเศษเศษไม่ถึง 110 กิโลเมตรถือว่าอยู่ใกล้ไปมาสะดวกทีเดียวนับเป็นปูชนียสถานที่มีประชาชนนิยมนับถือกันมากแห่งหนึ่งไม่แพ้พระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี เพราะผู้คนพากันชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาปรินิพพานณสถานที่แห่งนี้ ทั้งนี้เพราะลักษณะภูมิประเทศที่รายล้อมพระแท่นมีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระนิพพานในประเทศอินเดียเป็นอย่างมาก กล่าวคือมีแท่นบรรทมและต้นรังคู่หน้าวิหารพระแท่นแต่ปัจจุบันนี้ต้นรังที่ว่านั้นไม่มีแล้ว

นอกจากจะมีพระแท่นดงรังประดิษฐานอยู่ในวิหารพระแท่นซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาสูงกว่าพื้นดินประมาณ 1 เมตร ด้านในกำแพงแก้วทางมุมตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารพระแท่นก็มีวิหารเล็กๆที่เรียกกันว่าวิหารพระอานนท์และในบริเวณใกล้เคียงกันนี้แต่เป็นด้านนอกกำแพงแก้วเป็นที่ตั้งของวิหารพระทรมานกายซึ่งเป็นที่เก็บพระพุทธรูปปางทุกขกิริยา

ด้านหลังของทรัพทย์มีหินลักษณะคล้ายบ่อน้ำกว้างประมาณ 20 cm ลึกประมาณ 75 เซนติเมตรเป็นสถานที่ที่คนทั่วไปเรียกว่าบ้วนพระโอษฐ์ ส่วนที่สูงที่สุดของภูเขาประมาณ 55 เมตรจากระดับน้ำทะเลมีบันไดก่ออิฐถือปูนเป็นขั้นขั้นลาดตั้งแต่เชิงเขาถึงยอดเขานับได้ 94 ขั้นยอดเขามีมณฑป 12 เหลี่ยม กว้างยาวประมาณ 3 วา ยอดมณฑปแหลมคล้ายพระเมรุมีประตู 2 ประตู

ภายในวิหารทางทิศตะวันออกของประเทศมีหินก้อนหนึ่งซึ่งกล่าวกันว่าเป็นที่บดยาถวายพระพุทธเจ้าชาวบ้านที่มานมัสการพระแท่นดงรังจะใช้ก้อนหินนี้เป็นที่บดยารับประทานกันเป็นจำนวนมากบางคนก็นำสมุนไพรมาบดแล้วนำกลับไปฝากญาติพี่น้องก็มี

ภายในป่าต้นรังซึ่งอยู่ห่างจากพระแท่นไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตรมีบ่อลึกอยู่ 1 บ่ปากบ่อก่อด้วยอิฐโบราณเป็นคันสำหรับกั้นดินพังทับปากบ่อมีเรื่องเล่าต่อมาว่า  บ่อแห่งนี้เป็นปล่องพญานาค สำหรับพญานาคที่จะขึ้นมานมัสการเชิงตะกอนที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าบนเขาถวายพระเพลิงแต่ครั้งโบราณ ถ้าท่านได้มีโอกาสไปนมัสการพระแท่นดงรังระหว่างช่วงเทศกาลซึ่งจะจัดประมาณกลางเดือน 4 ของทุกปีคงจะนึกประหลาดใจอยู่มิใช่น้อยที่เห็นผู้คนจากทุกภาคของประเทศหลั่งไหลเข้ามากันบูชาพระแท่นจนดูประหนึ่งว่าคนเหล่านี้จะพากันมาชมงานมหกรรมครั้งมโหฬาร

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
หากใช้ความสังเกตให้ดีแล้วจะพบว่าโดยส่วนรวมของคนไทยเป็นจำนวนมากยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และของขลัง พระแท่นดงรังก็คงจะไม่พ้นกรณีนี้ไปได้ สาเหตุแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนน่าจะเกิดขึ้นเพราะเสียงเล่าลือความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกเรื่องอภินิหารของพระแท่นไว้ว่า ชาวอินเดียคนหนึ่งที่มาเที่ยวได้ขึ้นไปนอนเล่นบนพระแท่นและได้ถึงแก่ความตายเพราะเลือดออกทางปากและจมูก

น้ำจากที่บ้วนพระโอษฐ์เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาโรคตาแดงได้

หินบดยาที่อยู่ในศาลานอกกำแพงถ้านำไปบดใบไม้ไม่ว่าจะเป็นใบไม้ชนิดใดก็ตาม ใบไม้ที่บดจะกลายเป็นยาทั้งนั้น

น้ำมันที่ตามตะเกียงในพระวิหารพระแท่นก็เป็นน้ำมันมนต์ไม่ว่าจะทาแผลที่ใดก็เป็นหายหมด

เวลาขึ้นเขาถวายพระเพลิงถ้านับขั้นบันไดได้เท่าใดผู้นั้นก็จะมีอายุเท่ากับขั้นบันไดที่นับได้

หลังมณฑปหลังเขาถวายพระเพลิงจะเป็นบริเวณเมืองลับแลถ้าเดินออกไปแล้วจะหาทางกลับมายังที่เดิมไม่ได้

ปัจจุบันความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และของขลังของคนลดน้อยลงแต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีผลพลอยให้ความศรัทธาของคนลดลงตามไปด้วยจำนวนผู้คนที่พากันไปนมัสการพระแท่นดงรังมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปูชนียสถานแห่งนี้ทรงความศักดิ์สิทธิ์อยู่ได้ตลอดมาคงจะเป็นเพราะพระแท่นดงรังนี้สมมุติเป็นเสมือนสถานที่นิพพานของพระพุทธเจ้าที่สามารถน้อมจิตใจพุทธศาสนิกชนให้รำลึกถึงพระพุทธประวัติตอนปัจฉิมมกาญได้เป็นอย่างดี และในประเทศไทยก็มีสถานที่เช่นนี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นก็คือพระแท่นดงรัง